1. แผนเพื่อความคงอยู่ของธุรกิจ
ดาวน์โหลดเอกสาร
|
คุณอาจเคยคิดว่า เมื่อคุณเสียชีวิตลง ครอบครัวของคุณก็ยังคงมีรายได้จากธุรกิจต่อไปภายใต้การดำเนินงานของพวกเขาเองหรือพวกเขาอาจจะจ้างใครสักคนมาบริหารกิจการก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว บุคคลอันเป็นที่รักของคุณเหล่านั้นอาจจะไม่มีทักษะหรือความชื่นชอบในงานของคุณ และหุ้นส่วนของคุณก็อาจจะไม่ต้อนรับหุ้นส่วนที่ไม่ได้รับเชิญเหล่านั้นก็เป็นได้ หรือหากเป็นกรณีหุ้นส่วนของคุณเสียชีวิตลงทายาทของเขาอาจขายหุ้นให้บุคคลภายนอกทำให้กิจการที่คุณสร้างมากับมือต้องถูกควบคุมการบริหารโดยบุคคลอื่น ดังนั้นหากคุณมีการทำข้อตกลงระหว่างผู้เป็นเจ้าของกิจการทั้งหมดที่จะซื้อหุ้นของเจ้าของกิจการคนใดคนหนึ่งในกรณีที่เจ้าของกิจการผู้นั้นเกษียณอายุ, ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตลง ก็จะสามารถแก้ปัญหายุ่งยากที่จะเกิดขึ้นในภายหลังได้
สำหรับหุ้นส่วนธุรกิจที่มีความประสงค์จะซื้อธุรกิจคืนจากครอบครัวของหุ้นส่วนที่เสียชีวิตหรือทุพพลภาพ การมีวงเงินคุ้มครองสูงเป็นข้อตกลงที่ทำให้ไม่เป็นภาระกับธุรกิจ และทำให้ครอบครัวของหุ้นส่วนธุรกิจยังคงมาตรฐานการครองชีพได้อย่างดีเสมือนกับหัวหน้าครอบครัวยังมีชีวิตอยู่
โดยทั่วไปกิจการจะทำประกันชีวิตควบคู่ไปกับข้อตกลงดังกล่าว เพื่อให้เจ้าของกิจการคนที่เหลืออยู่สามารถนำเงินชดเชยที่ได้รับจาก กรมธรรม์ประกันชีวิตมาใช้ในการซื้อส่วนได้เสียของเจ้าของกิจการที่เสียชีวิตลงในราคาที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า ก่อนแล้ว ราคาที่ใช้ในการซื้อขายนี้จะถูกระบุไว้ในสัญญาซึ่งจัดทำโดยที่ปรึกษาทางกฎหมาย ดังนั้นคุณจึงแน่ใจได้ว่าหุ้นส่วนของคุณจะไม่ลิดรอนสิทธิ์ หรือเอาเปรียบครอบครัวของคุณและบุคคลอันเป็นที่รักของคุณจะได้รับเงินค่าขายหุ้นของคุณอย่างรวดเร็วและยุติธรรม
|
|
คุณสามารถจัดทำข้อตกลงซื้อขายหุ้น (Buy-Sell Agreement) เมื่อใดก็ได้ แต่โดยปกติควรจะทำเมื่อมีการจัดตั้งธุรกิจหรือเมื่อมีหุ้นส่วนเพิ่มขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ คุณควรจะประเมินมูลค่าในข้อตกลงเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง เพราะมูลค่าของธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หรืออาจจะกำหนดวิธีคำนวณมูลค่าซื้อขายเอาไว้ในข้อตกลงเพื่อให้ราคาที่จะใช้ซื้อขายเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงๆ สะท้อนมูลค่าปัจจุบันของธุรกิจ และควรจะตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าวงเงินชดเชยจากประกันของคุณยังคงครอบคลุมมูลค่าของข้อตกลงนั้นด้วย
นอกจากนี้แล้ว เจ้าของธุรกิจยังควรจัดทำแผนสำรองไว้สำหรับกรณีทุพพลภาพหรือเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ ในกรณีดังกล่าวนั้น เงินที่จะใช้ในการซื้อส่วนได้เสียคือเงินชดเชยที่ได้รับจากกรมธรรม์แบบ ประกันการซื้อคืนธุรกิจจากการทุพพลภาพ
นอกจากนี้ยังมีแผนประกันค่าใช้จ่ายของธุรกิจ ซึ่งจะจ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายของธุรกิจให้แก่กิจการในกรณีที่เจ้าของธุรกิจเกิดทุพพลภาพอย่างสิ้นเชิง โดยปกติแล้วกิจการจะได้รับเงินชดเชยในจำนวนที่สามารถคลอบคลุมค่าใช้จ่ายของกิจการได้ ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน, ภาษี, ผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน, ค่าเช่า, ภาระจำนอง (เงินกู้), ค่าสาธารณูปโภค, ค่าอุปกรณ์
|
|
- แผนการซื้อขายส่วนได้เสียของหุ้นส่วนที่เสียชีวิตหรือทุพพลภาพ
- แผนคุ้มครองค่าใช้จ่ายของธุรกิจ
|
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
|
คุ้มครองความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuation)
|